1. แอลกอฮอล์ของบริษัท อิโตะ คอลส์ มีคุณภาพเชื่อถือได้หรือไม่
แอลกอฮอล์ของบริษัท อิโตะ คอลส์ มีคุณภาพเชื่อถือได้ เนื่องจากผ่านการตรวจสอบการคุณภาพจากกรมสรรพสามิตในขั้นตอนการนำเข้า และได้รับใบรับรองคุณภาพโดยมี
- มีใบรับรอง คุณภาพ และความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคตามมาตรฐาน BS EN1276:2009 จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (มาตรฐาน BS EN1276:2009 : เป็นมาตรฐานสำหรับแอลกฮอล์ ที่จะใช้จดแจ้ง อย.สำหรับเครื่องมือแพทย์)
- ผ่านการทดสอบ คุณภาพตาม มาตรฐาน มอก 640 เล่ม 1-2553 : เอทานอลใช้ทางเภสัชกรรม จากกรมวิทยาศาสตร์
2. แอลกอฮอล์ของบริษัท อิโตะ คอลส์ นำเข้า และเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอนหรือไม่
แอลกอฮอล์ของบริษัท อิโตะ คอลส์ ดำเนินการทุกขั้นตอนตามกฎระเบียบของกรมสรรพสามิต ทั้งการอนุมัตินำเข้า การใช้ฉลาก และอนุญาตเป็นผู้ขาย ฯลฯ และสินค้ามีอากรแสตมป์ติด เพื่อแสดงการเสียภาษีนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดูเพิ่มเติมที่นี่
3. ทำไมต้องใช้แอลกอฮอล์บริสุทธิ์
ขึ้นอยู่กับประเภท และคุณภาพสินค้าที่ต้องการเป็นหลัก โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. การใช้งานแอลกฮอล์ ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่ต้องผลิต และเงื่อนไขการขอใบอนุญาต ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธาณสุข ซึ่งผลิตภัณ์อย. แบ่งเป็น 6 ประเภท
- อาหาร
- ยา
- วัตถุอันตราย
- เครื่องสำอาง
- ยาเสพติด
- เครื่องมือแพทย์
2. การใช้งานขึ้นอยู่กับความแรง (ดีกรี) ของแอลกฮอล์ เช่น70% 95% 96% 99%
3. แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ และ แอลกอฮอล์แปลงสภาพ จึงไม่ได้แตกต่างกัน ในเรื่องการใช้งานทางด้านเทคนิค แต่ต่างกันในเรื่องคุณภาพของสินค้า
4. แอลกอฮอล์แปลงสภาพ = มีการใส่สารเคมี ตามเงื่อนไขของกรมสรรพสามิต จึงไม่ได้เหมาะสมสำหรับการผลิตสินค้าทุกประเภท เช่นไม่สามารถเป็นส่วนประกอบของ ยา และเครื่องมือแพทย์ได้
5. แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ = ไม่มีการใส่สารเคมี ดังนั้น สามารถใช้ผลิตสินค้าได้ทุกประเภท ดังนั้น การเลือกใช้งาน ขึ้นอยู่กับ ประเภทและคุณภาพของสินค้า ที่ต้องการเป็นหลัก
4. ทำไมต้องมีใบอนุญาตขายสุรา กรณีที่ต้องการนำแอลกอฮอล์แบบบริสุทธิ์ไปจำหน่าย
กฎหมายว่าด้วยสุรา กำหนดนิยามไว้ว่า สุรา หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา หรือซึ่งดื่มกินไม่ได้แต่เมื่อได้ผสมกับ น้ำ หรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกิน ได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
จากนิยามจะเห็นได้ว่า คำว่า สุรา กฏหมายมิได้ให้ความหมายไว้โดยตรง ผู้ร่างกฎหมายคงเห็นว่าถ้าเป็นสุรา เช่น สุราแม่โขง สุราแสงโสม สุราขาวฯลฯ ใครพบเห็นก็จะทราบได้ทันที โดยไม่ต้องให้ความหมายไว้ กฎหมายว่าด้วยสุราใช้คำว่าหมายความรวม นั่นคือ นอกจากสุราที่รู้กันกันทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นสิ่งอื่นที่มีความหมายตามที่กฎหมายว่าด้วยสุรากำหนดแล้วถือว่าเป็นสุราเช่นเดียวกัน
ประเภทของสุรา
สุราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สุราแช่ และ สุรากลั่น สุราแช่ คือ
- สุราท่ีไม่ได้กลั่น เช่น น้ำตาลเมา น้ำขาว อุ เบียร์ เป็นต้น
- สุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอลไม่เกินสิบห้าดีกรีด้วย เช่น เบียร์ ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง เป็นต้น
สุรากลั่น คือ
1.สุราที่ได้กลั่นแล้วเช่น สุราขาว สุราสามทับ (แอลกอฮอล์) สุราแม่โขง สุราแสงโสม เป็นต้น หรือ
2. สุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้วแต่ยังมีแรงแอลกฮฮล์เกินห้าสิบดีกรีด้วย เช่น สุราสามทับ สุราขาว สุราผสม สุราปรุงพิเศษ และสุราพิเศษ เป็นต้น
การที่กฎหมายต้องกำหนดให้แยกประเภทสุราแช่และสุรากลั่นให้ชัดเจน เพราะจะมีผลกับจำนวนภาษีที่ผู้ผลิตสุราต้องเสียและการกำหนดโทษกรณีมีการกระทำผิดบางฐานความผิด
มีหลายคนที่มีการเข้าใจผิดว่า สุรากลั่นต้องมีแรงแอลกอฮอล์เกินสิบห้าดีกรี และสุราแช่ต้องมีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าสิบห้าดีกรีเสมอ ถูกเพียงครึ่งเดียว ที่ถูกต้องคือสุราแช่และสุรากลั่นแท้ๆ ที่ตัวมันเองไม่ได้ผสมกับใครจะมีกี่ดีกรีก็ได้ การจะพิจารณาดีกรีสุราประกอบคือ กรณีที่มีการนำสุราแช่และสุรากลั่นมาผสมกัน ถ้าสุราที่ผสมแล้วมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าสิบห้าดีกรีให้ถือว่าเป็นสุราแช่ ถ้าแรงแอลกอฮอล์เกินสิบห้าดีกรีก็ให้ถือว่าเป็นสุรากลั่น เหตุที่ต้องกำหนดแบบนี้เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเก็บภาษีว่าจะใช้อัตราภาษีสุราแช่หรือสุรากลั่น
มีกฎกระทรวงแบ่งประเภทสุรากลั่นไว้ทั้งหมด 5 ประเภท คือ
- สุราสามทับ คือสุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่แปดสิบดีกรีข้ึนไป
- สุราขาวคือสุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งปรุงแต่งมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี
- สุราผสมคือสุรากลั่น ที่ใช้สุราขาวหรือสุราสามทับมาปรุงแต่งมีแรงแอลกอฮอลต์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี
- สุราปรุงพิเศษ คือคือสุรากลั่นท่ีใช้สุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี
- สุราพิเศษ คือสุรากลั่นที่ทำข้ึนโดยใช้กรรมวิธีพิเศษมีแรงแอลกอฮอล์
ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี แบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
- 5.1ประเภทวิสกี้ บรั่นดี รัม ยิน หรือสุราแบบต่างประเทศอย่างอื่น
- 5.2 ประเภทเกาเหลียง เช่ียงชุน บุ้ง กุ่ยโล่ว หรือสุราจีนอย่างอื่น
ดังนั้น แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ความแรงตั้งแต่ 80 ดีกรี จึงจัดเป็น ประเภทสุราสามทับ ผู้นำไปจำหน่ายจึงต้องทำการจดทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้ขายสุรา ให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากท่านต้อการศึกษา ค้นคว้าอย่าละละเอียดท่านสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 และ ฉบับแก้ไข กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ หนังสือตอบข้อหารือ ฯลฯ ได้จาก เว็บไซด์กรม สรรพสามิต